ยาแก้ปวด NSAID ที่ดีที่สุด
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เป็นยาลดการอักเสบและแก้ปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยใช้รักษา โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ การออกฤทธิ์ของยาจะไปลดเอ็นไซม์ cyclo-oxygenase (COX) enzymes โดยลดทั้ง โดยลดทั้ง COX-1 และ COX-2 สำหรับยา NSAID ที่ลด COX-1 จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ง่าย เนื่องจาก COX-1 จะเป็นเอ็นไซม์ ที่ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ลดอาการปวดได้ดีกว่ากัน
สำหรับแก้ปวดในระยะสั้นน้อยกว่า 6เดือนพบว่ายาแก้ปวดกลุ่มนี้ใช้รักษาข้ออัก ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ผลการรักษาเรื่องการลดการเจ็บปวดให้ผลไม่ต่างกัน
ยาทาแก้ปวด diclofenac เมื่อเทียบกับยารับประทานสำหรับโรคข้อเสื่อมให้ผลไม่ต่างกันในการลดอาการปวด
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ผลข้างเคียงทางระบบอาหารน้อยที่สุด
- ยาแก้ปวดกลุ่ม nonselective NSAIDs(ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac )จะมีโรคแทรกซ้อนเรื่องแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกทางเดินอาหารทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
- สำหรับยา Celecoxib ซึ่งยับยั้งเฉพาะชนิด COX-2 enzymes จะพบว่าโรคแทรกซ้อนทางกระเพาะอาหารต่ำสำหรับการรักษาในระยะสั้น ส่วนการศึกษาในระยะเวลานานยังไม่มีข้อมูล
- การใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหารร่วมกับ nonselective NSAIDs(ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac จะโรคแทรกซ้อนไม่ต่างจากการให้ Celecoxib
- การให้ยารักษากระเพาะอาหารกลุ่ม proton pump ร่วมกับ Celecoxib จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางเดินอาหารน้อยกว่าการให้ Celecoxib อย่างเดียว
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนทปลอดภัยสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ยา naproxen จะมีความปลอดภัยต่อโรคหัวใจมากที่สุดเมื่อเทียบกับยาในกลุ่ม NSAIDs ตัวอื่น
- ยา Celecoxib จะมีความเสี่ยงไม่ต่างจาก NSAIDs ตัวอื่น
- ยา Meloxicam ไม่เพิ่มอัตราการเสี่งการเกิดโรคหัวใจ
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
- ยา Celecoxib จะมีโรคแทรกซ้อนทางกระเพาะต่ำกว่ายา NSAIDs ตัวอื่น
- สำหรับคนที่ได้รับ aspirin เพื่อป้องกันโรคหัวใจ การให้ NSAIDs หรือ Celecoxib จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนแผลกระเพาะอาหารไม่ต่างกันแม้ว่าจะให้ยากระเพาะอาหาร
NSAID ทำให้เกิดอัมพาตเพิ่มขึ้น NSIAD ทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ยาทามีผลข้างเคียงน้อยกว่ายารับประทาน
ท่านต้องบอกแพทย์ทุกครั้งเมื่อแพทย์จะจ่ายยา NSAIDs
- หากท่านมีโรคไต หรือโรคตับ
- หากท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกทางเดินอาหาร
- ท่านรับประทานยา Coumadin, heparin, aspirin, or Plavix
- ท่านรับประทานยา prednisone
- ท่านมีเกล็ดเลือดต่ำ
- ท่านมีโรคลำไส้อักเสบ
- เคยเป็นโรคอัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจวาย
- เป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพอง
- ท่านแพ้ยา aspirin หรือ NSAIDs
- ท่านเป็นโรคกรดไหลย้อน
- ท่านตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือวางแผนตั้งครรภ์
- ดื่มสุราประจำ
- ได้รับยาขับปัสสาวะ
- อายุมากกว่า 65
คำเตือนสำหรับผู้ใช้ยากลุ่ม NSAIDs
- ยากลุ่ม NSAIDs สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ความเสี่ยงจะเพิ่มมากหากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(เพศ อายุ อ้วน สูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ประวัติเป็นโรคหลอดเลือดก่อนวัย)
- การเกิดโรคแทรกซ้อนหัวใจมักจะเกิดภายในอาทิตย์แรกของการใช้ยากลุ่ม NSAIDs และความเสี่ยงจะเพิ่มหากใช้ยาในขนาดสูงและเป็นเวลานาน
- ไม่ควรใช้ยา NSAIDs ก่อนหรือหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
- ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการโรคแทรกซ้อนระบบทางเดินอาหาร ได้แก่แผล หรือเลือดออกทางเดินอาหาร
หากเกิดอาการข้างเคียงของยาให้หยุดยาและแจ้งแพทย์ที่ดูแล
- มีอาการบวมบริเวณหนังตา ริมฝีปาก บวมลิ้น เท้าบวม
- มีเสียงในหู
- มีผื่นลมพิษ
- คันตามตัว
- มีจ้ำเลือดตามตัว
- ถ่ายอุจาระสีดำ
- บวมและน้ำหนักขึ้น
- ปัสสาวะเข้มหรือเป็นเลือด
- อาเจียนเป็นเลือด
- ตามัว
- หายใจเสียงดังหวีด
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- แพ้แสง
- แขนขาอ่อนแรงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด
- ปวดหลังมาก
- ปวดศีรษะรุนแรง
สรุป
- หากปวดไม่มากให้ใช้วิธีอื่นเช่น การทำกายภาพ การประคบร้อน การนวด ยาพาราเซตามอลหากไม่ดีจึงเลือกใช้ยากลุ่มNSAIDs
- หากท่านแข็งแรงดีไม่มีโรคประจำตัวการให้ยาแก้ปวด NSAIDs ตัวไหนก้ได้
- หากท่านเป็นผู้สูงอายุการให้ NSAIDs ร่วมกับยารักษาแผลกระเพาะอาหารหรือให้ Celecoxib
- หากท่านเคยเป็นแผลและมีเลือดออกทางเดินอาหารควรจะได้ Celecoxibร่วมกับยารักษาโรคกระเพาะอาหาร
- หากท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจควรจะปรึกษาแพทย์ หากมีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารก็ควรจะให้ยารักษากระเพาะอาหาร