การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้
- ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง
- ชนิดของมะเร็ง
- ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา
- ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน
- การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่
มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่
หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่
- คุณภาพชีวิตหลังรักษา
- สุขภาพของผู้ป่วย
วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- การเฝ้ารอดูอาการ
เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
- การผ่าตัด
Prostatectomy
เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้
3 วิธี
- radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
- radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
- transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว
- Radiation therapy
- การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก
implant radiationหรือ brachytherapy
- Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
- การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน
testosterone เช่น leuprolide, goserelin, และ buserelin.
- ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ
androgen เช่น flutamide และ bicalutamide.
- ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน
androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
- Chemotherapy
การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
- ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค
- cryotherapy
เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร
liquid nitrogen
เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี
ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก
- การผ่าตัด
จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก
และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3
สัปดาห์
การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้
และอาจจะเกิดกามตายด้าน
นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
- การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้
การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง
และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
- การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน
ร้อนตามตัว
มะเร็งต่อมลูกหมาก | การตรวจทั่วๆไป | การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกเริ่ม | ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก | การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก | อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก