อากรปวดศีรษะที่ควรเฝ้าระวัง
อาการปวดศีรษะจากโรคที่เป็นอันตราย
ปวดศีรษะจากเลือดออกในสมอง
เลือดออกในสมองเป็นภาวะที่รุนแรง เกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันทีและรุนแรง มีอาการอาเจียน ไม่สามารถก้มหน้าได้(คอแข็ง) หากรุนแรงอาจจะหมดสติ เลือดออกในสมอง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อของสมอง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัส แบทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อปาราซิต อาการปวดศีรษะจะรุนแรงมาก อาเจียน แพ้แสงจ้าๆ คอแข็ง และมีไข้สูง หากมีอาการดังกล่าวต้องพบแพทย์โดยเร่งด่วน
หลอดเลือดแดงอักเสบ Giant cell arteritis (temporal arteritis)
มักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณขมับ อาการที่สำคัญคือปวดบริเวณหน้าผาก เวลาหวีผม หรือเวลาเคี้ยวจะปวดศีรษะ หรือกดบริเวณหลอดเลือดจะปวด หากรักษาช้าอาจจะทำให้ตาบอด การรักษาให้ยา prednisolone
เนื้องอกสมอง Brain tumours
เนื้องอกสมองจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเป็นมากเวลาเดินในตอนเช้า ปวดมากเวลายืนขึ้น อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาไอหรือจามจะปวดศีรษะเพิ่มขึ้น
ปวดหัวแบบไหนที่จะต้องพบแพทย์
ปวดศีรษะทั่วไปมักจะหายได้เอง แพทย์มักจะซักประวัติอาการปวดศีรษะซึ่งอันตรายและรุนแรง อาการดังกล่าวได้แก่
- ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมามีประวัติได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรงหรือไม่
- อาการปวดศีรษะเป็นมากขึ้นเมื่อมีไข้ หรือมีไข้ร่วมด้วยหรือไม่
- อาการปวดศีรษะเป็นแบบทันทีหรือไม่
- มีปัญหาเรื่องการพูดหรือการสื่อสารหรือไม่
- มีปัญหาเรื่องการทรงตัวหรือไม่
- มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หรือมีการเปลี่ยบนแปลงพฤติกรรมหรือไม่
- มีอาการปวดศีรษะร่วมกับอาการซึมหรือไม่
- อาการปวดศีรษะเป็นมากเมื่อไอ หรือจาม หรือเบ่งอุจาระหรือไม่
- อาการปวดศีรษะเป็นมากเมื่อมีการเปลี่ยนท่าหรือไม่เช่นท่านั่ง หรือยืน
- อาการปวดศีรษะร่วมกับปวดตา ตาแดงหรือไม่
- อาการปวดศีรษะรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน
- มีอาการอาเจียนร่วมกับอาการปวดศีรษะ
- มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำหรือไม่ เช่น โรคเอดส์ ผู้ที่ใช้ยา steroid เป็นประจำ
- เป็นมะเร็งหรือไม่
ท่านผู้อ่านควรพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน หรือมีการเพิ่มของความรุนแรงตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
- ปวดศีรษะจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ และมีอาการ คลื่นไส้ ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดศีรษะร่วมกับการชัก
- ปวดศีรษะอย่างเฉียบพลันโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- ปวดศีรษะเมื่อ ไอ จาม หรือมีการก้มตัว หรือเบ่งอุจาระ
- ปวดศีรษะเป็นอย่างต่อเนื่อง
- ปวดศีรษะร่วมกับไข้
- ปวดศีรษะร่วมกับซึมลง
- ปวดศีรษะเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง