หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ซื้อยาแก้ปวดรับประทานก็บรรเทาอาการปวด สาเหตุของปวดศีรษะส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง
อาการปวดศีรษะแบ่งออกเป็นสองชนิดได้แก่
เป็นอาการปวดศีรษะที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดศีรษะเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ ได้แก่
หรือที่เรียกว่าปวดศีรษะจากความเครียด อาการปวดศีรษะจะปวดเหมือนมีเข็มขัดรัดรอบศีรษะ ตำแหน่งที่ปวดมักจะอยู่บริเวณหน้าผาก แต่ก็ปวดร้าวมาบริเวณขมับทั้งสองข้างอาการปวดจะอยู่ได้หลายวัน มักจะพบร่วมกับอาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท สามารถทำงานได้ อาการปวดจะเป็นมากตอนสายๆของวัน ตื่นเช้ามาอาการปวดจะเป็นน้อย เมื่อออกกำลังกายหรือจามไม่ทำให้อาการปวดศีรษะมากขึ้น
อาการปวดศีรษะนี้เกิดจากกล้ามเนื้อด้านหลังของคอ และกล้ามเนื้อรอบศีรษะมีการหดเกร็ง ส่วนเหตุที่ทำให้เกิดการหดเกร็งได้แก่ ความเครียด อ่อนเพลีย ความวิตกกังวล การทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน บางท่านอาจจะเกิดจากการดื่มสุรา หรือกาแฟมากไป
การดูแล ส่วนใหญ่ยาแก้ปวดธรรมดาก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การดื่มกาแฟให้ลดลง และดื่มน้ำให้มากขึ้น รับประทานน้ำตาลให้ลดลง อย่านอนหนุนหมอนสูงเกินไป(มากกว่า 2 ใบ) นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย
ลักษณะที่สำคัญของปวดศีรษะไมเกรนคือปวดศีรษะข้างเดียว ปวดแบบตุ๊บๆ อาการปวดศีรษะอาจจะเป็นต่อเนื่อง 3 วัน หากมีการเครื่องไหวหรือเสียงดังจะทำให้ปวดศีรษะเพิ่มมากขึ้น ประมาณ1ใน3ของผู้ป่วยจะมีอาการเตือนที่เรียกว่า aura ซึ่งเห็นแสงสว่างลักษณะซิกแซก มักจะเป็นกับตาข้างเดียว บางคนอาจจะตามองไม่เห็น หรือชาข้างหนึ่ง พูดไม่ชัด ปัจจัยที่กระตุ้นให้ไมเกรนกำเริมคือ ความเครียด หิว อาหารพวกช็อคโกแลต ไวน์แดง อ่อนเพลีย การขาดน้ำ
การดูแล ผู้ป่วยควรจะอยู่ในห้องมืด เงียบเพื่อนอนพัก ดื่มน้ำ และยาแก้ปวด หากไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาอื่น
จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวอาการปวดอาจจะเป็นทั้งวันหรือตลอดทั้งสัปดาห์ อาการจะเป็นๆหายๆ อาการอาจจะหายไปหลายเดือน มักจะเกิดกับผู้ชายที่สูบบุหรี่ นอกจากอาการปวดศีรษะแล้วอาจจะมีอาการตาแดง น้ำมูกและน้ำตาไหลข้างเดียวกับที่ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะนี้ไม่ทราบสาเหตุจะมีอาการปวดศีรษะเหมือนถูกของมีคมแทง ปวดแต่ละครั้งจะนาน 5-30 วินาที ปวดทั้งกลางวันและกลางคืน ตำแหน่งที่ปวดมักจะเกิดบริเวณหลังหู มักจะพบร่วมกับคนที่ปวดศีรษะไมเกรน มักจะหายก่อนที่จะรับประทานยา
อาการปวดศีรษะเนื่องจากปลายประสาทสมองคู่ที่ห้าอักเสบ ตำแหน่งที่ปวดคือ ใบหน้าบริเวณ ตา จมูก หนังศีรษะ หรือริมฝีปาก ลักษณปวดแสบร้อน
ลักษณะอาการปวด |
|||
ตำแหน่งที่ปวด |
ปวดข้างใดข้างหนึ่งหรือ 2 ข้าง |
ปวดข้างใดข้างหนึ่ง |
ปวดทั้ง 2 ข้าง |
ระยะเวลาที่ปวด |
4-72 ชม. |
30-90 นาที |
2ชม.-วัน |
ความรุนแรง |
ปานกลางถึงมาก |
รุนแรงมาก |
ปวดไม่มาก |
ลักษณะปวด |
ปวดตุ๊บๆ |
ปวดแสบๆ ปวดเหมือนมีดแทง |
ปวดตึงๆ |
อาการคลื่นไส้ อาเจียน |
มีได้ |
ไม่มี |
ไม่มี |
ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล |
อาจมีได้ |
มี |
ไม่มี |
นอกจากนั้นยังพบอาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุอื่นๆเช่น
อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสาเหตุกระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอ ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของกระดูกต้นคอเช่นกระดูกอักเสบ ข้อเสื่อม หมอนกระดูกทับเส้นประสาท หรือเกิดจากกล้ามเนื้อต้นคอมีอาการเกร็งเนื่องจากการที่อยู่ผิดท่าเป็นเวลานานๆ
อาการปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหลมักจะปวดรอบตา แก้มหรือบริเวณหน้าผาก เช้าๆตื่นมาไม่ปวดมาก สายๆจะปวดมากขึ้นเวลาเคลื่อนไหวศีรษะจะปวดมากขึ้น
อาการปวดศีรษะจากขากรรไกร ผู้ที่นอนกัดฟันกลางคืนหรือเคี้ยวอาหารที่เหนียวๆจะมีอาการปวด การวินิจฉัยทำได้โดยให้เคี้ยวจะทำให้ปวดศีรษะเพิ่มขึ้น
ปวดศีรษะจากต้อหินGlaucoma ผู้ที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และเป็นภาวะเร่งด่วนที่จะต้องรีบให้การรักษา ผู้ป่วยจะปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก ตาแดง เห็นแสงเป็นวง
เนื้องอกสมอง ผู้ที่ปวดศีรษะจากเนื้องอกสมองมักจะมีอาการอ่อนแรงหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกและความจำ อาเจียน ชัก
อาการปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ปวดศีรษะ โปรดจำไว้ว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงจะไม่ปวดศีรษะเลยก็ได้
ปวดศีรษะจากเส้นเลือดสมองแตก ผู้ป่วยปวดศีรษะทันทีและปวดมากและซึมลง อ่อนแรงแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
อาการปวดศีรษะที่มาจากสาเหตุนอกสมอง
เช่น
หลังออกกำลังกายอย่างหนักเช่น การวิ่ง การมีเพศสัมพันธ์ การไอ การเบ่งถ่ายอุจาระอาจจะกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรนอยู่ก่อน อาการปวดจะปวดด้านหลังศีรษะ และหายไปในเวลา 20นาที กลุ่มปวดศีรษะเหล่านี้มักจะไม่มีอาการอื่นๆ
พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง และมักพบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อาการปวดศีรษะมักจะเกิดขึ้นทันที และรุนแรงตั้งแต่แรก ลักษณะอาการปวดเหมือนมีอะไรมาแทงในศีรษะ หรือปวดตุ๊บ ๆ มักจะปวดทั่ว ๆ ไปทั้งศีรษะ หรืออาจเป็นเฉพาะที่ท้ายทอย หรือส่วนหน้าของศีรษะ มักปวดเท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง อาการปวดจะคงอยู่หลายนาที บางครั้งแม้จะหยุดออกกำลังกาย ก็ยังปวดอยู่ ยังม่ทราบกลไกชัดเจนของอาการปวดชนิดนี้ ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท การรับประทานยาแก้ปวดมักทำให้อาการดีขึ้น
อาการปวดศีรษะชนิดนี้มักเป็นบริเวณหลังลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง โดยมีลักษณะปวดตุ๊บ ๆ รุนแรง อาจตรวจพบลานสายตาผิดปกติทันทีหลังออกกำลังร่วมด้วย พบบ่อยในนักกีฬาที่ไม่ค่อยฟิต เมื่อแข่งขันในที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก ๆ ได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ หรือออกกำลังกายในที่ที่ร้อนเกินไป จากการตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปกติของระบบประสาทอื่น ๆ นอกจากความผิดปกติของลานสายตาดังกล่าวแล้ว โดยทั่วไปอาการปวดศีรษะชนิดนี้จะไม่ร้ายแรง และมักจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก ถ้านักกีฬาคนนั้นมีความฟิตมากขึ้น และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
หมายถึง บุคคลนั้นมีอาการปวดศีรษะเดิมอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม และเมื่อออกกำลังกายก็จะทำให้อาการปวดศีรษะเดิมนั้นเป็นมากขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์จะต้องซักประวัติเพื่อแยกออกจากอาการปวดศีรษะว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นอาการปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือน หรืออาการปวดศีรษะแบบไมเกรนชนิดอื่น ๆ แต่ในบางคน การออกกำลังกายกลับช่วยลดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนบางอย่างได้ด้วย จึงอาจนำไปใช้รักษาได้
อาการปวดจะเหมือนกับอาการปวดศีรษะชนิดไม่ร้ายแรง แต่มักจะปวดบริเวณท้ายทอย และบางครั้งมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ยิ่งออกแรงมาก หรือเคลื่อนไหวคอมากขึ้น ก็ยิ่งปวดมากขึ้น อาการปวดอาจคงอยู่หลายชั่วโมงหลังจากหยุดออกกำลังกายแล้ว การตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท การป้องกันทำได้โดยการประคองบริเวณกล้ามเนื้อคอ และรับประทานยาแก้ปวด
เรื่องนี่น่าอ่าน
อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ ปวดศีรษะ ปวดศีรษะจากความเครียด สัญญาณอันตราย การตรวจวินิจฉัย ไมเกรน ปัจจัยที่กระตุ้น