เชื้อไข้หวัดใหญ
เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่
- Family Orthomyxoviridae
- Genus: Influenza
- ตัวเชื้อมีขนาด 80-120 nm
- ลักษณะเป็น filament
- Types: A, B, and C
- การจำแนกชนิดของเชื้ออาศัย antigen ซึ่งอยู่ที่เปลือก(virus envelope) และแกนกลาง (nucleoprotein )
- Influenza A virus ทำให้เกิดโรคในคน สัตว์ปีก หมู ม้า สัตว์ทะเล แต่สัตว์ป่าจะเป็นพาหะของโรค
- Influenza B virus เกิดโรคเฉพาะในคน
- Influenza C virus ทำให้เกิดโรคในคนและม้า แต่เป็นอย่างไม่หนัก
- การระบาดของไข้หวัดนกส่วนใหญ่เกิดเชื้อชนิด Type A
- ที่เปลือกของเชื้อยังมี antigen อีกสองชนิดคือ Hemagglutinin(H )และ neuraminidase(N)
- Type A จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15,ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9 เชื้อชนิด H5,H7 จะเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรง
- Influenza B virus จะเกิดโรคเฉพาะในคน เชื้อนี้จะทำให้เกิดการระบาดเป็นครั้งๆ แต่ไม่ทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลกเหมือน type A
- Influenza C virus ไม่มีการแบ่ง antigen ทำให้เกิดโรคอย่างเบาในคน ไม่มีการระบาด
- Type: Influenza A
- ไวรัสชนิดนี้จะเป็นสาเหตุของการระบาดในคน
- การระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลกเกิดจากเชื้อตัวนี้
จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15 ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9
- เมื่อเร็วๆนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H5, H7, and H9
- influenza Aจะพบในนกโดยที่นกจะไม่เป็นโรค
- influenza A ชนิด H5 and H7 จะทำให้เกิดการระบาดในสัตว์เลี้ยง
- นอกจากนั้น influenza A ยังทำให้เกิดโรคในม้า หมู ปลาวาฬ แมวน้ำ แมว เสือ
การเรียกชื่อไวรัส
การเรียกชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่อาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้
- Type ให้ใช้้ A,B, กรณีที่เป็น Type A จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ H,N antigen และแต่ละชนิดยังแยกเป็นย่อย
- แหล่งกำเนิดโรค
- ลำดับพันธ์ที่แยกเชื้อได้
- ปี ค.ศ ที่แยกเชื้อได้
- สำหรับ influenza A ให้บอกชนิดย่อยของ H และ N แอนติเจน
- ตัวอย่าง Influenza virus A/Hong kong/1/68/[H3N2]
ไข้หวัดใหญ่คนและไข้หวัดใหญ่นกต่างกันอย่างไร
คนจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ทั้ง Influenza A,B,C สำหรับType A เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H1N1, H1N2, และ H3N2
สำหรับไข้หวัดนกจะเป็นเฉพาะ Type A สายพันธุ์ที่มักจะทำให้เกิดโรคในนกได้แก่ H5 และ H7 แต่ความทนทานต่อเชื้อไข้หวัดของนกแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน นกน้ำ เป็ดป่า นกป่าจะไม่เกิดโรค สัตว์เหล่านี้จะเป็นพาหะและจะนำเชื้อไปสู่สัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดโรค และเชื้อนั้นอาจจะติดมายังคน
การระบาดของเชื้อโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้แก่ Influenza A virus ซึ่งมีวิธีการระบาดได้สองวิธีคือ
- highly pathogenic avian influenza (HPAI) คือการระบาดชนิดรุนแรงซึ่งทำให้เกิดอัตราการตายสูงเกิดจากเชื้อ H5,H7
- low-pathogenic avian influenza (LPAI) เป็นการระบาดอย่างไม่รุนแรง แต่อาจจะกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่ระบาดรุนแรงก็ได้
- การระบาดเชื่อว่าเกิดจากนกน้ำ หรือนกที่อพยพจากแหล่งอื่นที่เป็นภาหะของโรคนำเชื้อโรคมาที่ฟาร์ม
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัส
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จะมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ และทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่เป็นระยะๆ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมีสองวิธีได้แก่
- antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของไวรัสทำให้เกิดไวรัสพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยเจอจึงไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคนี้ ตัวอย่างการเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ในแต่ละปีต้องคิดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่
- antigenic shift คือการที่เชื้อไวรัสไขหวัดมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม เมื่อเชื้อนั้นไปติดเชื้อสัตว์ ทำมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเชื้อไวรัสอย่างทันที ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่คนไม่รู้จักและไม่เคยมีภูมิต่อเชื้อโรค เมื่อเชื้อระบาดเข้าสู่คน คนไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคจึงเกิดการระบาดไปทั่วโลก ดังเคยเกิดมาเมื่อปี 1918ที่ประเทศสเปน การเกิด antigenic shift มักจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น แมว หมู
เชื้อไข้หวัดนก
เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ติดในนกเรียกว่า avian influenza viruses ซึ่งเป็นเชื้อชนิด infuenza type A เท่านั้น สายพันธ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในนกได้แก่สายพันธ์ H5, H7, และ H9 ลักษณะของการติดเชื้อไข้หวัดนก
Influenza A H5
- มี9สายพันธ์ได้แก่H5N1, H5N2, H5N3, … H5N9
- เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากและน้อย( highly pathogenic or low pathogenic )
- มีหลักฐานว่าเกิดการติดเชื้อในคน และทำให้เสียชีวิต
Influenza A H7
- มี9สายพันธ์ได้แก่ H7N1, H7N2, H7N3, … H7N9
- เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากและน้อย( highly pathogenic or low pathogenic )
- ไม่ค่อยพบว่าติดต่อสู่คน นอกจากจะพบในคนงานในฟามร์ ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ
Influenza A H9
- มี9สายพันธ์ได้แก่ H7N1, H7N2, H7N3, … H7N9
- เป็นเฉพาะที่มีความรุนแรงน้อย
- มีรายงานว่าคนติดเชื้อนี้ 3 คน
กลับหน้าเดิม