jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคแทรกซ้อนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในระยะหลัง

 

ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายที่รอดชีวิตกลับบ้านยังมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ10ในปีแรก เพราะกล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดซ้ำหรือมีการอุดตันของหลอดเลือดเส้นใหม่ ดังนั้นการตรวจประเมินผู้ป่วยหลังการเกิดการอุดตันครั้งแรกจึงมีความสำคัญ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญหลังจากผู้ป่วยกลับบ้านคือ

ภาวะที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดซ้ำ

ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันเมื่อได้ยาละลายลิ่มเลือดทันเวลาจะมีเลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณที่ขาดเลือด ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนที่ขาดเลือดสามารถทำงานได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ยาละลายลิ่มเลือดนั้น ลิ่มเลือดที่อุดอยู่อาจจะละลายได้เองทำให้เมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบางส่วน แต่อย่างไรก็ตามหลอดเลือดที่อุดตันก็อาจจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอต้องอาศัยหลอดเลือดเส้นอื่นมาทดแทน ในภาวะที่มีหลอดลือดตีบมักจะตีบหลายเส้นทำให้เลือดที่มาจากเส้นอื่นไม่พอ ผู้ป่วยจึงอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรือยังมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นการตรวจโดยการออกกำลังกายหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จึงมีประโยชน์ในการแยกกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงออกมาเพื่อรักษา

การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำอาจจะเกิดเมื่อใดก็ได้ แต่มักจะเกิดบ่อยในช่วง 2-3 เดือนแรก ถ้าผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายและยังมีอาการเจ็บหน้าอก ควรจะปรึกษาแพทย์

ภาวะหัวใจล้มเหลว อ่านที่นี่

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อย จนกระทั่งหายใจหอบและอาจจะจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเราแบ่งเป็น

การเสียชีวิตกระทันหัน

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจตายมักเกิดจากการที่หัวใจขาดเลือดซ้ำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการทำงานของหัวใจลดลง ร่วมกับการที่หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตกระทันหัน และมาไม่ถึงโรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมุ่งเน้นการเปิดหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจให้พอ และการให้ยาปิดกั้น beta_blocker

อ่านเรื่องโรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การป้องกันโรคหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เพิ่มเพื่อน