ประจำเดือนมามาก
เด็กผู้หญิงพอเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์รังไข่เริ่มทำงาน มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีประจำเดือนและการตกไข่ พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่นมีเต้านม ผิวอ่อนนุ่มขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำรับเป้นคุณแม่ ในช่วงแรกของการมีประจำเดือน ประจำเดือนอาจจะมาไม่แน่นอนรอบเดือนในระยะแรกอาจจะใช้เวลาถึง 33 วันในแต่ละรอบ แต่พอเริ่มเข้าที่ส่วนใหย่จะอยู่ที่ 28 ในแต่ละรอบเดือน
คำว่าประจำเดือนมามากในทางทฤษฎีบอกว่าหากประจำเดือนมามากกว่า 80 ซีซี หรือประจำเดือนมานานกว่า 7 วันคงไม่มีใครตวงจำนวนประจำเดือน โดยทั่วไปอาจจะดูปริมาณผ้าอนามัยที่ใช้ในช่วงที่ประจำเดือนมามาก ว่าใช้ไปกี่ผืนเมื่อเทียบกับเพื่อนในกลุ่มอายุเดือนกันว่าใช้มากกว่าเขาหรือเปล่า หากสงสัยว่าประจำเดือนมามากควรจะปรึกษาแพทย์ อย่าสับสนเรื่องประจำเดือนมามากในที่นี้หมายถึงรอบเดือนปกติแต่ปริมาณเลือดออกมากและนานกว่าปกติ ซึ่งต่างจากกรณีรอบประจำเดือนสั้นเช่น 21 วันทำให้ประจำเดือนมาถี่ หรือประจำเดือนกระปริดกระปอย
ความชุกของโรค
ประเทศอเมริกาพบผู้ป่วยร้อยละ10-20ของคนที่มีประจำเดือนมีประจำเดือนมามากจนกระทั่งต้องพบแพทย์
ความรุนแรงของโรค
- โดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยรุ่นแรงนอกจากว่าจะเสียเลือกเป็นเวลานานซึ่งจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก การรักษาก้ไม่ยากเพียงให้ธาตุเหล็กทดแทน และแก้ที่ต้อนเหตุ อีกกรณีที่อาจจะเกิดได้คือหากมีการเสียเลือดมากในทันที ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือที่เรียกว่าช็อคก็ได้ซึ่งจะมีอาการหน้ามือ หายใจหอบ ปัสสาวะออกน้อย นอกจากนั้นในผู้ที่เสียเลือดเป็นเวลานาน และเกิดโลหิคจางเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจโตซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจวายผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยหอบเวลาเดิน
- ความรุนแรงของโรคอาจจะมาจากโรคที่ทำให้ประจำเดือนออกมากเช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย
ก่อนไปพบแพทยท่านต้องเตรียมคำตอบอะไรบ้าง
การที่แพทย์ได้ประวัติประจำเดือนของท่านโดยละเอียดจะช่วยการวินิจฉัยดีกว่าการเจาะเลือด ดังนั้นท่านต้องเตรียมคำตอบสำหรับแพทย์ ดังนี้
ท่านตั้งครรภ์ขาดประจำเดือนหรือไม่
- แพทย์มักจะตั้งคำถามนี้เสมอสำหรับผู้ที่ประจำเดือนมามากเพราะสาเหตุที่มีเลือดออกมากคือภาวะแท้ง ดังนั้นท่านต้องจำหรือจดวันที่ประจำเดือนครั้งสุดท้าย
- นอกจากนั้นท่านต้องตอบแพทย์ว่าปกติรอบเดือนของท่านแต่ละรอบใช้เวลานานแค่ไหน
ปริมาณและลักษณะรอบเดือน
- เป็นการยากที่จะบอกว่าประจำเดือนมามากหรือน้อย ท่านควรจะบอกชนิดของผ้าอนามัยที่ใช้ โดยปกติผ้าอนามัยแบบสอดจะวับประจำเดือนได้ประมาณ 5 ซีซี แต่หากเป็นแบบผืนจะซับได้ประมาณ 5-15 ซีซีดังนั้นท่านควรจะบอกว่าใช้กี่ผืน และผ้าอนามัยที่เปลี่ยนเปียกชุ่มหรือเปล่า
- มีลิ่มเลือดหรือไม่ หากมีลิ่มเลือดแสดงว่าประจำเดือนออกมาก
อายุ
- หากอายุน้อยหรืออยู่ในช่วงที่เริ่มมีประจำเดือน อาจจะเกิดจากการคลาดเคลื่อนของประจำเดือน หรือการทำงานของฮอร์โมนยังไม่เข้าที่เข้าทาง
- หากท่านอายุ 30-50 ปีอาจจะมีโรคในมดลูกเช่น polyps หรือเนื้องอก
- หากท่านหมดประจำเดือน และมีเลือดออกท่านต้องไปพบแพทย์
ประวัติประจำเดือน
- ประวัติประจำเดือน หากท่านมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอมาตลอดก็อาจจะไม่มีปัญหา แต่หากท่านมีประจำเดือนสม่ำเสมอและมีประจำเดือนผิดปกติแสดงว่าน่าจะเกิดความผิดปกติ
ประวัติเพศสัมพันธ์
ประวัติการใช้ยาคุมกำเนิด
- การใส่ห่วงเป็นสาเหตุให้ปวดท้องและมีประจำเดือนมามาก หากท่านใส่ห่วงต้องบอกแพทย์
- การรับประทานยาคุมเป็นประจำ และท่านหยุดยาคุมกำเนิด ประจำเดือนของท่านก็จะมาเป็นปกติในช่วงที่หยุดยาคุมกำเนิดใหม่ประจำเดือนอาจจะมามากกว่าปกติ
ท่านมีน้ำนมไหลหรือไม่
- หากท่านที่ไม่มีบุตรและมีน้ำนมไหลออกจากหัวนมท่านต้องแจ้งแพทย์เพราะแสดงว่าท่านมีฮอร์โมน prolactin สูงวึ่งต้องหาสาเหตุต่อไป
ท่านมีโรคตับหรือโรคไตหรือดรคไทรอยด์ไม่
- ท่านที่เป็นดรคตับหรือดื่มสุรา/เบียร์เป้นประจำ หรือเป็นไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ท่านต้องแจ้งแพทย์เพราะการเป็นโรคตับจะทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดได้
- หากท่านเป็นโรคไตท่านต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- โรคของต่อมต่อมไทรอยด์อาจจะทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือมามากกว่าปกติ
ท่านมีจำเลือดตามตัวหรือไม่
- หากท่านมีจ้ำเลือดตามตัวหรือแขนขาท่านต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจจะมีดรคหรือภาวะที่ทำให้เลือดออกง่าย
ท่านใช้ยาอะไรเป็นประจำ
สาเหตุของโรค
แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
- มีความผิดปกติที่มดลูกได้แก่
- เนื้องอกมดลูกหรือมี polyp ในมดลูก กลไกยังไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเกิดจากเลือดที่มาเลี้ยงเนื้องอกมากทำให้ผนังหลอดเลือดแตกง่าย หรืออาจจะเกิดจากเนื้องอกขวางการหดตัวของมดลุก
- Endometrial hyperplasia วึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้าง estrogen มากไปหรือเกิดจากที่รับประทานยาคุมกำเนิดที่มีแต่ estrogen ซึ่งอาจจะกลายเป็นมะเร็งมดลูกได้ร้อยละ 1-2 %
- โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษา
- เกิดจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด
- การใช้ฮอร์โมนในการรักาาโรค
- การให้เคมีบำบัด
- การให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด
- จากโรคของต่อมไร้ท่อเช่น
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือต่อมไทรอยด์น้อยก็สามารถทำให้ประจำเดือนออกมากได้
- โรคของเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (pituitary)ทำให้ร่างการสร้างฮอร์โมนบางชนิดมากจนเกิดประจำเดือนมามาก
- สาเหตุที่ประจำเดือนมามากคือประจำเดือนที่ไม่ได้มีการตกไข้ซึ่งพบในวัยรุ่นที่ประจำเดือนเริ่มมาใหม่ๆ และในวัยใกล้หมดประจำเดือน
- โรคต่างๆที่ทำให้ประจำเดือนมามาก
- การตอดเชื้อในช่องคลอดหรือมดลูกอาจจะทำให้ประจำเดือนมามาก กลุ่มผู้ป่วยจะมีอาการตกขาวหรือปวดท้องร่วมด้วย
- โรคเลือด เช่น ไข้เลือดออก ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป้นต้อง โรคเหล่านี้ทำให้การแข็งตัวของเลือดไม่ดี เลือดออกง่าย
- โรคตับหรือโรคไต ทำให้กลไกการห้ามเลือดเสียไป
เมื่อไปหาแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
แพทย์จะสั่งการตรวจวินิจฉัยอะไรจะขึ้นกับประวัติและการตรวจร่างกายโดยไม่จำเป็นต้องครบทุกอย่าง
- CBC เพื่อดูว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่ และดูปริมาณเกล็ดเลือดว่ามีจำนวนมากพอหรือไม่
- ปริมาณเหล็กในเลือดเพื่อหาสาเหตุว่าโลหิตจางเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก จะเจาะในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าโลหิตจางเกิดจากอะไร
- การแข็งตัวของเลือด จะตรวจในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- Human chorionic gonadotropin หรือฮอร์โมนที่บอกว่าเราตั้งครรภ์หรือไม่ แพทย์จะสั่งเจาะกรณีที่อบากจะทราบว่าตั้งครรภ์หรือไม่
- เจาะเลือดดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ กรณีที่สงสัยว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยไป
- ตรวจการทำงานของตับหรือไต
- ตรวจหาฮอร์โมน estrogen LTH FSH ในกรณีสงสัยว่าเป็นดรค PCOS
การตรวจโดยคลื่นเสียงความถี่สูง
การทำ ultrasound จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ค่อยข้างดี ไม่ทำให้เจ็บปวด หรือโรคแทรกซ้อน ทำให้เห็นโครงสร้าง ขนาดของมดลูก แพทย์ส่วนใหญ่มักจะส่งการตรวจชนิดนี้
การตรวจด้วยวิธีอื่นๆ
- การตรวจภายในและตัดชิ้นเนื้อในมดลูกไปตรวจ หากตัดถูกตำแหน่งก็อาจจะช่วยในการวินิจฉัยโรค หากตัดผิดตำแหน่งก็อาจจะไม่ได้การวินิจฉัย
- Hysteroscopy การส่องกล้องดูในมดลูก ซึ่งจะตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญหากมีอาการปวดมากอาจจะต้องดมยาสลบ หากพบรอยโรคก็สามารถตัดชิ้นเนื้อตรวจเพื่อหาสาเหตุ
- การขูดมดลูกและส่งชิ้นเนื้อตรวจ เป็นการรักษาภาวะเลือดออกมากขณะเดียวกันก็ได้ชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหาสาเหตุ
การรักษามีกี่แบบ
การรักษาโรคนี้ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง การรักษามีด้วยกันหลายแบบดังนี้
- การให้ยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID เป็นยาที่ใช้บ่อยในกรณีประจำเดือนมามาก(แบบที่มีการตกไข่)ระยเวลาที่รับประทานประมาห้าวันก่อนมีประจำเดือน โดยจะลดปริมาณประจำเดือนลงได้ร้อยละ20-40 กลไกเกิดจากการไปลด ระดับของ prostaglandin
- การใช้ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดจะไปลดการหลังฮอร์โมน pituitary gonadotropin ทำให้ไม่มีการตกของไข่ จะลดปริมาณประจำเดือนลงได้ดีพอๆกับ NSAID
- การให้ Progestin ซึ่งเป็นฮอร์ดมนต้านฤทธิ์ของ Estrogen ทำให้ลดปริมาณประจำเดือน
- การใส่ห่วงที่เคลือบฮอร์โมนLevonorgestrel intrauterine จะป้องกันการตั้งท้องและลดปริมาณประจำเดือน
- การให้ยาต้านฮอร์โมน Gonadotropin-releasing hormone เป็นการรักษาระยะสั้นเพราะราคาแพงและมีผลข้างเคียง
- Danazol เป็นยาต้านฤทธิ์ของ androgen และ progesterone ทำให้ไม่มีประจำเดือน การรักาาจะทำให้เต้านมเล็กลง
- Conjugated estrogens ใช้ฉีดทุก 4 ชมในกรณีที่เสียเลือดมาก หากเลือดไม่หยุดใน 24 ชม จะต้องขูดมดลุก และต้องตามด้วยยาคุมกำเนิดอีกสามเดือน
- Tranexamic acid ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาว่าสามารถใช้ยานี้รักษาโรคนี้ได้
การผ่าตัด
การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่มีเนื้องอกของมดลุก และการรักาาทางยาไม่ได้ผล
การขูดมดลูก
เป็นการวินิจฉัยโรคหรือรักาาอาการเพียงแค่หนึ่งถึงสองเดือน
หากท่านมีประจำเดือนมามากหรือเป็นครั้งละมากกว่าเจ็ดวันโปรดปรึกาาแพทย์เพื่อการรักษาโรคให้เร็ว