การวินิจฉัยโรคเกาต์
- จากประวัตมีการปวดข้อ และการตรวจร่างกายดังกล่าวข้างต้นโรคเกาต์มักจะปวดที่ละข้อแต่ต่างจากโรค
SLE หรือ Rheumatoid ที่มักปวดที่ละหลายข้อ
- เจาะเลือดพบกรด
uric>7mg%
- ตรวจหากรดยูริกในปัสสาวะที่เก็บ
24 ชั่วโมง
ถ้าค่าสูงมีโอกาสเป็นนิ่วในไต
- เจาะข้อนำน้ำในข้อตรวจพบเกลือ
uric ดังรูป
- X-RAY
ข้อที่ปวดพบผลึก uric
สะสมตามข้อ
การรักษา ช่วงที่มีข้ออักเสบ
- ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่น
- ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา colchicine 0.5 mg ทุก 2
ชั่วโมงจนอาการปวดดีขึ้นหรือเกิดอาเจียน
และถ่ายเหลว
และอาจให้ยาแก้ปวดเช่น aspirin,indomethacin,ibuprofen,naproxyn,piroxicam ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือปวดท้องและเลือดออกทางเดินอาหารได้
- ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
- ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
การป้องกันข้ออักเสบ
- ให้ colchicine 0.6 mg วันละ 1-4
เม็ด
ถ้าเริ่มมีอาการของข้ออักเสบให้เพิ่มได้อีก
วันละ 1-2 เม็ด
- ให้ยาลดกรด
uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อหรือไตเริ่มมีอาการเสื่อม
เช่น probenecid 500 mg
ให้ครึ่งเม็ดวันละ2
ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต และควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ
และหรือ allopurinol 200-600 mg/วัน ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อม เนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้
ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
- ให้ดื่มน้ำมากกว่า
3 ลิตร/วัน
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์
- กรรมพันธุ์
ผู้ชายจะเริ่มอายุ 35-40 ปี
ส่วนผู้หญิงเริ่ม 45 ปีไปแล้ว
- อ้วน ถ้าน้ำหนักเกิน
จะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นด้วย
- อาหารที่มี
purine สูง
- อาหารที่มีไขมันสูง
- โรคความดันโลหิตสูง
- ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงจะลดการขับกรดยูริก
ยา aspirin ยารักษาวัณโรค เช่น pyrazinamide , ethambutol,niacin
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
จะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดยูริกเพิ่ม
- ไตเสื่อม
- โรคที่ทำให้กรดยูริกสูงเช่นโรคมะเร็ง
โรคเม็ดเลือดแดงแตก
- ภาวะขาดน้ำ
- การได้รับอุบัติเหตุที่ข้อ
กลับไปหน้าเดิม การรักษาด้วยยา การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา การลดกรดยูริก