jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การวินิจฉัยโรคต้อหิน

หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นต้อหินแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียด

ตรวจความดันลูกตา Tonometry

ความดันลูกตา

เป็นการวัดความดันลูกตา แพทย์จะหยอดยาชาหลังจากนั้นก็จะวัดความดันลูกตา ค่าความดันของลูกตาปกติ 12-22 มม.ปรอทคนที่เป็นต้อหินมากจะมีความดันในลูกตามากกว่า 20 มม.ปรอท

ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ Ophthalmoscopy

 

วิธีการตรวจจอรับภาพตาด้วยกล้องส่อง

ต้อหิน

ภาพที่เห็นจากกล้องเส้นประสาทตา จะมีสีซีดตรงกลางภาพ

เป็นการใช้เครื่องมือส่องเข้าไปในตาเพื่อตรวจดูประสาทตา ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องหยอดยาขยายม่านตาเพื่อจะตรวจได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินเรื้อรังเส้นประสาทจะซีดและมีขนาดใหญ่

การตรวจลานสายตา Perimetry

ลานสายตา

วิธีการตรวจลานสายตา

ต้อหิน

ลานสายตาของคนปกติจะเห็นได้กว้าง จุดดำๆที่เห็นเรียกจุดบอด

ต้อหิน

ลานสายตาของคนที่เป็นต้อหินจะแคบ ส่วนที่มองไม่เห็นคือส่วนดำๆในภาพ

เป็นการตรวจลานสายตาของผู้ป่วย กล่าวคือเวลาเรามองเราสามารถมองได้เป็นบริเวณกว้าง หากเป็นโรคต้อหินพื้นที่เรามองจะแคบลงดังแสดงในรูปข้างบน วิธีการตรวจผู้ป่วยจะมองตรงแล้วจะมีหลอดไฟหรือแสงวางตำแหน่งต่างๆกันหากเราเห็นก็บอก แพทย์จะจดตำแหน่งที่เห็นเพื่อจะตรวจสอบลานสายตาว่าแคบหรือปกติ

การตรวจ Gonioscopy

เป็นการตรวจมุมของกล้ามเนื้อ iris กับ cornea เป็นการตรวจเพื่อจะบอกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือเปิด โดยแพทย์จะหยอดยาชาและเอาเครื่องมือติดตาซึ่งจะมีกระจกซึ่งแพทย์จะสามารถมองเห็นว่ามุมปิดหรือมุมเปิด

โรคต้อหินรักษาหายขาดหรือไม่

โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วต้องติดตามการรักษาต่อเนื่อง หลักการรักษาคือการลดความดันในลูกตา ป้องกันตาบอดโดยการใช้ยาหยอด ยารับประทาน การรับประทานยา การผ่าตัด

ต้อหิน อาการและชนิดต้อหิน การวินิจฉัย การรักษา