หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
หากท่านมีอาการเหมือนกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือแพทย์สงสัยว่าท่านจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะตรวจเพิ่มเพื่อ
- ประเมินว่าท่านเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่
- ประเมินว่าระยะมะเร็งลำไส้ใหญ่ของท่านอยู่ที่ระยะไหนซึ่งจะเป็นข้อมูลในการวางแผนการรักษา
- ประเมินสุขภาพโดยรวมของท่าน
การตรวจเพิ่มเติมได้แก่
- การซักประวติการเจ็บป่วยแพทย์จะซักระยะเวลาที่เจ็บป่วย ซักถามอาการของโรคแทรกซ้อน ซักเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป การรักาาโรคประจำตัว
- การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อประเมินสุขภาพ ตรวจร่างกายว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีการแพร่กระจายหรือยัง โดยการตรวจต่อมน้ำเหลือง ตรวจตับว่าโตหรือไม่ ตรวจร่างกายว่ามีก้อนหรือเปล่า
- การตรวจเลือดทั่วไปได้แก่ ความสมบูรณ์เม็ดเลือด ตรวจปัสสาวะ การทำงานของตับ การทำงานของไต ตรวจหัวใจ ตรวจ CEA
- การตรวจทางทวารหนักเพื่อที่จะตรวจหาก้อนในทวารหนัก
ผู้ป่วยจะนอนตะแคง แพทย์จะสวมถุงมือและทาครีมหล่อลื่น ล้วงเข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจว่ามีก้อนในทวารหรือไม่ |
การตรวจนี้จะตรวจว่ามีก้อนในทวาร และตรวจต่อมลูกหมากได้ด้วย |
- การตรวจหาเลือดในอุจาระ หากทางเดินอาหารมีแผลเราสามารถตรวจพบเลือดในอุจาระ วิธีการตรวจทำได้โดยการนำอุจาระไปส่องกล้องเพื่อตรวจหาเม็ดเลือดแดง และอีกวิธีคือเอาอุจาระแตะบนกระดาษและนำมาทดสอบปฏิกิรายาทางเคมีเพื่อหาว่ามีเลือดหรือไม่
- การตรวจด้วยวิธีการสวนสีและ x-ray ผู้ป่วยจะต้องเตียมตัวก่อนตรวจโดยรับประทานอาหารที่มีกากน้อย และให้รับประทานยาละบายก่อนวันตรวจ แพทย์ใส่สารรังสีเข้าไปทางทวารจนถึงลำไส้ใหญ่ หลังจากนั้นจะถ่ายรังสีเป็นระยะ และให้ผู้ป่วยถ่ายออกหมดและถ่ายภาพรังสีอีก เราเรียกวิธีการนี้ว่า Barium enema
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ หากส่องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเรียก Sigmoidoscopy แต่หากส่องตลอดลำไส้เรียก Colonoscopy เพื่อดูว่ามีก้อน หรือการอักเสบหรือไม่ หากพบก้อน หรือติ่งเนื้อก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
- การตรวจ colonography เป็นการตรวจลำไส้ใหญ่โดยการใส่สารทึบแสง
- เข้าไปในลำไส้ใหญ่แล้วถ่ายด้วย computer ซึ่งจะได้ภาพที่ละเอียดมีรายละเอียดเพิ่ม
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางกล้องจุทัศน
- การตรวจหา carcinoembryonic antigen (CEA) ก่อนและหลังผ่าตัด ค่านี้จะสูงหากยังมีมะเร็ง