หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ในช่วงหลังมานี้พบว่าแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากหลอดเลือดโป่งพอง acute variceal bleeding มีแนวโน้มรักษาด้วยการส่องกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าทำใน 24 ชั่วโมง สามารถลดอัตราการตายจากภาวะเลือดออกได้อย่างมีนัยสำคัญ จุดมุ่งหมายของการรักษา
มีเลือกใช้ 3 แบบ ได้แก่
1) Sengtaken-Blackmore tube ซึ่งเป็นสายที่มี 3 ช่อง ได้แก่ gastric balloon มีขนาด 200-400 มิลลิลิตร, esophageal balloon และท่อสำหรับดูด gastric content ทำให้จำเป็นต้องใส่สายอีกสายเหนือ esophageal balloon เพื่อดูด esophageal content
2) Minnesota tube มี gastric balloon ที่ใหญ่ (500 มิลลิลิตร) และมีช่องสำหรับดูด esophageal content ด้วย
3) Linton-Nicholas tube มีช่อง gastric balloon ขนาด 600 มิลลิลิตรและช่องดูด esophageal และ gastric content
การหยุดเลือดโดยวิธีนี้สามารถหยุดเลือดได้ทันที 85-92% แต่อยู่ได้ไม่นาน มีอัตราการเกิดเลือดออกซ้ำถึง 21-50% และในผู้ป่วยที่มี Child’s grade ที่ไม่ดีก็มีแนวโน้มที่จะไม่ได้ผลจากการรักษานี้ นออกจากนี้ปัญหาที่พบได้คือ aspiration, asphyxiation, esophageal and gastric rupture, mucosal and nasal necrosis และ cheat pain พบ pulmonary aspiration ได้ถึง 10% สามารถแก้ไขโดยการใส่ orotracheal intubation การใช้วิธีนี้เพื่อให้เลือดหยุดก่อนไปส่องกล้องและปัจจุบันมี modified Senstaken-Blackmore tubes ที่มี esophageal aspiration port พบว่าถ้าใช้ไม่เกิน 2 วันจะมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าสายแบบเดิม
ยาที่มีผลลด portal hypertension ได้แก่กลุ่ม alfa blockers, nitrates, angiotensin inhibitors, serotonin antagonists, calcium channel blockers, beta blockers, prostaglandin synthetase inhibitors, digoxin and theophyllin แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้ในภาวะเลือดออกเฉียบพลัน ส่วนยาที่ศึกษากันมาก ได้แก่
สรุปผลของ somatostatin และ analogues ต่อ portal pressure
1) หลังจากฉีดยา bolus ทั้ง somatostatin และ octreotide สามารถลด portal pressure ได้พอสมควร แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงเฉพาะ somatostatin เท่านั้นที่พบว่า สามารถคงความดันในระดับนี้ต่อไปได้ส่วน octreotide ยังไม่มีผลชัดเจนในด้านนี้
2) ภาวะ postpandrial hyperemia ในกระเพาะเป็นกลไกสำคัญที่ somatostatin และ octreotide ออกฤทธิ์เพื่อลดการเกิด variceal bleeding
3) การให้ bolus somatostatin หรือ octreotide อาจช่วยหยุดยั้ง active bleeding และช่วยให้การทำการรักษาโดยการส่องกล้องง่ายขึ้น
4) การให้ octreotide หลังจากการรักษาโดยการส่องกล้องอาจช่วยลดอุบัติการณ์เกิด early rebleeding ได้
5) การให้ยากลุ่มนี้ควรจะให้ประมาณ 5 วัน เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อเลือดออกซ้ำที่ค่อนข้างจะสูง
6) อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะให้การรักษาทั้งการส่องกล้องและการให้ยาก็ยังพบว่า อุบัติการณ์ของเลือดออกซ้ำมีได้ถึง 10-20%
เมื่อเทียบกับ balloon tamponade หรือ vasopressin แล้ว การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลในการหยุดเลือดพอ ๆ กัน แต่ปัญหาเลือดออกซ้ำพบน้อยกว่า และเมื่อเทียบกับ portacaval shunt ในผู้ป่วย Child class C พบว่าอัตรารอดชีวิตประมาณ 50% ไม่แตกต่างกัน แต่อัตราเลือดออกซ้ำมากกว่า และแม้แต่ในกลุ่มที่โรคตับไม่รุนแรงก็ได้ผลพอกัน หรือในผู้ป่วยที่เลือดออกโดยหาจุดเลือดออกไม่พบ, ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ เลือดออกจากแผลที่ฉีดยา,แผลบริเวณที่ฉีดยา
หลอดเลือดในกระเพาะโป่งพอง | การป้องกันหลอดเลือดโป่งพอง | การรักษาหลอดเลือดอาหารโป่งพอง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว