หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์
- ท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้นจนคนรอบข้างสังเกตเห็นว่าคุณตั้งท้อง มดลูกของคุณแม่อยู่เหนือระดับสะดือ 1.5 นิ้ว
- น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 กิโลกรัม
- ขนาดของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและกดมดลูกทำให้มีอาการปัสสาวะเร็ด ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่สับสนว่าเป็นปัสสาวะหรือน้ำเดินก่อนกำหนด วิธีง่ายคือการดมกลิ่นหากเป็นปัสสาวะจะมีกลิ่นหากเป็นน้ำคร่ำจะไม่มีกลิ่น หากสงสัยว่าเป็นน้ำเดินก่อนกำหยดต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน
- หลังเท้าและข้อเท้าอาจจะมีอาการบวมมากขึ้นโดยเฉพาะตอนสายๆเนื่องจากมีการคั่งของน้ำและเกลือ รวมทั้งการไหลเวียนของโลหิตเนื่องจากมดลูกกดเส้นเลือด อาการบวมจะหายไปหลังจากคลอดบุตร การแก้ไขให้นอนตะแคงซ้าย เมื่อเวลานังให้ยกเท้าสูง อย่านั่งหรือยืนเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง
- คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการปวดและชาตั้งแต่นิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วกลาง เนื่องจากเกิดการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือเนื่องจากอาการบวม
- อาการที่สำคัญที่พบได้บ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะซึ่งไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่าเกิดจากการขาดน้ำและอากาศร้อน วิธีแก้ไข้ให้นอนในห้องที่เงียบ และใช้น้ำเย็นประคบที่ตา แต่มีอาการปวดศีรษะแบบปัจจุบันร่วมกับปัญหาเรื่องการมองเห็นให้ปรึกษาแพทย์
- มีอาการตกขาวเพิ่มขึ้น อาการตกขวาของคนตั้งครรภ์จะใสไม่มีกลิ่น และมีสีขาว
- มดลูกจะมีการบีบตัวเป็นระยะ แต่มักจะไม่มีอาการปวดท้อง
การเปลี่ยนแปลงของทารก
- ขณะนี้ทารกมีขนาดลำตัวยาวอย่างน้อย 29 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 480-500 กรัม
- สามารถเห็นหัวใจของทารกและหลอดเลือดจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแม้ว่าหัวใจจะมีขนาดเล็ก
- ทารกกำลังฝึกหายใจโดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าสู่ปอดที่กำลังพัฒนา และปอดของทารกจะมีสารที่เรียกว่า surfactant ฉาบอยู่ที่ถุงลมในปอดซึ่งจะทำให้ถุงลมขยายเมื่อคลอด
- ทารกจะคุ้นเคยกับเสียงการเต้นของหัวใจหรือเสียงการเคลื่อนไหวของกระเพาะของคุณแม่ และคุ้นเคยกับเสียงภายนอกเช่น สุนัขเห่า หรือเสียงดังของเครื่องดูดฝุ่น เมื่อทารกคลอดออกมาจะคุ้นกับเสียงดังกล่าว
- กระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้นระยะนี้คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซื่ยมสูง กล้ามเนื้อของทารกแข็งแรงขึ้น แขนขาพัฒนาเต็มท และสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกมัด คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าลูกมีการเคลื่อนไหวและเตะท้องมากขึ้น สามารถกำมือคว้าสายสะดือทุกครั้งที่สัมผัสกับสายสะดือ
- เด็กผู้ชายถุงอัณฑะได้พัฒนาเกือบสมบูรณ์แล้ว ส่วนเด็กผู้หญิงก็มีการพัฒนาของรังไข่ที่ภายในมีเซลล์ไข่อยู่เป็นจำนวนมากอยู่พร้อมแล้ว
เคล็ดลับการดูแลตัวเองในระยะนี้
- ให้ไปตรวจร่างกายตามนัด
- ก่อนเข้านอนให้มีการบริหารโดยการยืดเส้นเพื่อคลายกล้ามเนื้อ และเก็บข้าวของบริเวณพื้นเพื่อป้องกันการหกล้ม
- ดื่มน้ำให้มาก หรือน้ำผลไม้ให้มาก โดยหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา หรือกาแฟ และสุรา โดยดูจากสีปัสสาวะซึ่งจะมีสีใส การดื่มน้ำปริมาณมากจะป้องกันภาวะดังต่อไปนี้
- อาการปวดศีรษะ
- ปวดมดลูก
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- อาการบวม
- การตั้งครรภ์ระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่ต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายคุณแม่จะดึงแคลเซี่ยมจากกระดูกมาให้ของคุณ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุน
- ให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการใหลเวียนของโลหิต
- หากเท้าบวมคุณแม่ต้องเปลี่ยนรองเท้า ให้นอนตะแคงซ้าน เวลานั่งหรือนอนให้ยกเท้าให้สูงอย่านั่งหรือยืนนาน และดื่มน้ำให้มาก
- หากเท้าบวมมากและมีความดันโลหิตสูงท่านต้องปรึกษาแพทย์เพราะท่านอาจจะเป็นครรภ์เป็นพิษ
- เตรียมตัวหาตำราเกี่ยวกับการดูแลทารกของท่าน และวิธีปรุงอาหาร