การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคุณพ่อบ้าน
นอกจากคุณผู้หญิงต้องเตรียมตัว คุณพ่อบ้านก็จะต้องเตรียมก่อนการตั้งครรภ์เหมือนกัน เพื่อที่จะให้การวางแผนการตั้งครรภ์ประสบผลสำเร็จ สิ่งที่คุณพ่อบ้านต้องเตรียมมีดังนี้
- ท่านอาหารคุณภาพ แน่นอนการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพจะช่วยให้พ่อบ้านแข็งแรงยังช่วยให้ตัวเชื้ออสุจิแข็งแรงไปด้วย และจะต้องการวิตามิน C และ E, ธาตุสังกะสี zinc, และกรด folic และอาจจะรับประทานอาหารที่เชื่อว่าจะเพิ่มอสุจิด้วยก็จะทำให้มีปริมาณเชื้อเป็นจำนวนมาก
- น้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักของคุณพ่อบ้านเพราะหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็จะเกิดเป็นหมันได้เพิ่มขึ้น
- หากพ่อบ้านทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ให้ตรวจสอบว่าสารเคมีดังกล่าวส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
- บอกเลิกสุรานะนะครับ เพราะนอกจากจะเมาจนลืมทำการบ้าน ตัวเชื้อก็คงจะเมา และสุราก็ลดปริมาณตัวเชื้ออสุจิด้วย ลดบุหร่ด้วยนะครับ
- จับคุณพ่อบ้านไปตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคประจำตัว
- นุ่งกางเกงหลวมๆนะครับ หากนุ่งกางเกงยีนคับๆจะทำให้อุณหภูมิของอัณฑะสูงทำให้เชื้ออ่อนแอนะครับ
- หลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อนหรือ sauna เพราะจะทำให้เชื้ออ่อนแรง
- นำ note book ออกจากหน้าตักนะครับเพราะความร้อนจากเครื่องจะทำให้เชื้อไม่แข็งแรง
- เปลี่ยนการออกกำลังกายจากการขี่จักรยานไปออกกำลังกายแบบอื่นนะครับ
หวังวะเมื่อทำตามนี้คุณพ่อบ้านก็พร้อมที่จะมีบุตรแล้ว
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
- สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์
- ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น
- Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมันผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน และไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมัน ควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและให้คุมกำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน
- Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
- Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน
- Toxoplasmosisเกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ
- โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
- Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค
- Sickle-cell disease และTay-Sachs disease
เกิดในเชื้อชาติอื่น
- โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
- โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้
- ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
- โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้งหรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
- โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก
กลับหน้าเดิม