ยาละลายเสมหะ Acetylcysteine
ข้อบ่งชี้ของการใช้ยาAcetylcysteine
- ใช้ละลายเสมหะซึ่งเหนี่ยวในผู้ป่วยโรคถุงลมดป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือวัณโรคปอด หรือผุ้ป่วยโรคปอดปัจจุบันเช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยที่เจาะคอ หากมีเสมหะเหนี่ยวก็ใช้ยานี้ละลายเสมหะ
- ใช้รักษาพิาที่ตับเนื่องจากรับประทานยาparacetamol มากไป
- ภาวะปอดแฟบเนื่องจากเสมหะเหนียวอุดหลอดลม
- ใช้ในการเตรียมผู้ป่วยสำหรับการวินิจฉัยทางปอด
การให้ยา Acetylcysteine และการบริหาร
กรณีเสมหะหรือสารคัดหลั่งมีความเหนียวมาก
- ผู้ใหญ่และเด็กสูดดมยาที่มีความเข้มข้น 10% ให้บ่อยๆอาจจะทุกชั่วโมง
- หยอดยาเข้าในหลอดลมโดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น 20 %หยอดโดยตรงในส่วนs]vf],muj,ugl,stgsoup;% อาจจะถูกปลูกฝังโดยวิธีการของเข็มฉีดยาที่เชื่อมต่อกับสายสวน
- ใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเข้าหลอดลมโดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น10-20%
- หยอดยาเข้าทางท่อเจาะหลอดลมที่คอ tracheostomy
- หรือใช้แบบยาพ่นทางหน้ากากวันละ 3-4 ครั้ง
กรณีที่ได้รับยา Paracetamol เกินขนาด
ให้ยาทางน้ำเกลือ
- ผู้ใหญ่และเด็กผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก 40 กิโลกรัมหรือมากกว่า ขนาดยาที่ให้เริ่มต้น 150 มิลลิกรัม / กิโลกรัมผสมในน้ำเกลือ 200 มิลลิลิตรใช้เวลามนการให้ยา 60 นาที
- ตามด้วยให้ยา 50 mg / kg ผสมในน้ำเกลือ 500 มิลลิลิตรให้นานนานเกิน 4 ชั่วโมง
- ตามด้วยยาขนาด 100 mg / kg ผสมในน้ำเกลือ 1,000 มิลลิลิตให้นาน 16 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัว 20- 40 กิโลกรัม
- ขนาดยาที่ให้เริ่มต้น 150 มก. / กก.ผสมในน้ำเกลือ 100 มิลลิลิตรให้เป็นเวลานาน 60 นาที
- ตามด้วยให้ยา 50 mg / kgผสมในน้ำเกลือก 250 มิลลิลิตให้ยานาน 4 ชั่วโมง
- ตามด้วยขนาดยา 100 mg / kg ละลายในน้ำเกลือ 500 มิลลิลิตให้ยานาน 16 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัมหรือน้อยกว่า
- ขนาดยาที่ให้เริ่มต้น 150 มก. / กก ผสมในน้ำเกลือ 3 มิลลิลิตร / กิโลกรัมให้ยานาน 60 นาที
- ตามด้วยยา 50 มก. / กก. ผสมในน้ำเกลือ 7 มิลลิลิตร / กิโลกรัมให้ยานาน 4 ชั่วโมง
- ตามด้วย 100 mg / kg ผสมในน้ำเกลือ 14 มิลลิลิตร / กิโลกรัมให้ยานาน 16 ชั่วโมง
(น้ำเกลือที่ใช้ละลายยาได้แก่ dextrose 5%, sodium chloride 0.45% injection, and water for injection.)
การให้โดยยารับประทาน
กรณีที่มาภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา paracetamol เริ่มให้รับประทานยาขนาด 140 mg / น้ำหนักตัว1 กก หลังจากนั้นให้รับประทานขนาด 70 mg / kg ทุก 4 ชั่วโมงอีก 17 ตรั้ง
สำหรับละลายเสมหะ
ขนาดรับประทานโดยทั่วไปครั้งละ 1 ซองผสมน้ำ 1 แก้ว ให้ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ระยะเวลาขึ้นกับโรคและการตอบสนองการรักษาโดยทั่วไปจะให้5-7 วัน ยานี้มีขายในรูปแกรนูลบรรจุในซองขนาด 100 - 200 มก. ขนาดรับประทานในผู้ใหญ่ครั้งละ 200 มก. วันละ 3 ครั้ง เด็กครั้งละ 100 มก. วันละ 2-4 ครั้ง สำหรับยาเม็ดฟู่ขนาดเม็ดละ 600 มก. รับประทานวันละครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้ยา
- สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าการใช้ยานี้โดยการรับประทานจะปลอดภัยทั้งแม่และลูก แต่ควรจะใช้ยานี้เมื่อจำเป็นต้องใช้และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ส่วนแม่ที่เลี้ยงลุกด้วยนมก็หลีกเลี่ยงยานี้
- ไม่ควรใช้ยานี้หากเคยแพ้ยานี้มาก่อน
- สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด ยานี้อาจจะกระตุ้นให้หลอดลมเกร็งตัว
- อาจจะทำให้เลือดออกง่าย
- หากต้องผ่าตัดจะต้องหยุดยานี้ก่อนผ่าตัด 2 สัปดาห์
การใช้ cetylcysteine ร่วมกับยาอื่น
- ไม่ควรใช้ยา Acetylcysteine ร่วมกับยา Nitroglycerin เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการปวดสีราะ มึนศีรษะเพิ่มมากขึ้น
- ไม่ควรใช้ยา Acetylcysteine ร่วมกับActivated charcoal เนื่องจากผงถ่านจะลดการดูดซึมของยานี้
อาการไม่พึงประสงค์
- มีอาการแพ้ยาชนิดรุนแรง มีผื่นขึ้น จุกหน้าอก หายใจลำบาก มักจะสัมพันธ์กับขนาดของยาที่ใช้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดต่ำ
- ผิวหนัง ผื่น (4%) คัน (3%) ลมพิษ
- หูคอจมูก คออักเสบ น้ำมูกไหลpharyngitis, rhinorrhea จุกแน่นคอ (1%)
- ระบบทางเดินอาหาร อาเจียน (10%) คลื่นไส้ (6%)
- ระบบทางเดินหายใจ หลอดลมตีบ ระคายเคืองหลอดลม ไอเสมหะมีเลือด
เก็บยาอย่างไร
เก็บยาในภาชนะที่บรรจุมา ปิดให้สนิท และพ้นมือเด็ก เก็บที่อุณหภูมิห้องในที่แห้ง ไม่ถูกความร้อนและแสงโดยตรง
การกำจัดยา
ยานี้เมื่อให้ชนิดเข้าทางหลอดเลือดดำจะครึ่งชีวิตคือ 5.6 ชั่วโมง
กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระวัง
- ผู้ป่วยไตเสื่อม
- ผู้ป่วยตับเสื่อมจะทำให้ยาอยู่ในร่างกายนานขึ้น
- ผู้สูงอายุ
- เด็กจะมีค่าครึ่งชีวิตนานขึ้น
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
|
โรคหอบหืด
โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้จะมีอาการหอบ หรือเหนื่อยเมื่อสัมผัสสารภูมิแพ้ การรักษาต้องหลีกเลี่ยงและใช้ยาพ่นป้องกันอาการหอบหืด โรคหอบหืด |
|
โรคปอดบวม
โรคปอดบวมเกิดจากปอดติดเชื้อโรคทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว และเชื้อโรคในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ไข้สูง ปอดบวม |
|
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเกิดจากเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ แต่ไม่หอบมาก หลอดลมอักเสบ |