หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
เป็นการฝึกเพื่อควบคุมการหายใจให้สามารถหายใจได้ลึกกว่าเดิมและยาวกว่าเดิม
องค์ประกอบสำคัญในการฝึกลมปราณนั้นเกี่ยวข้องกับการฝึกควบคุมการหายใจเข้า( Inhalation,puraka) ควบคุมการหายใจออก( Exhalation,rechaka) และการควบคุมการกลั้นหายใจ (Breath holding ,kumbhaka)
หายใจเข้าจนท้องป่อง |
หายใจออกจนท้องแฟบ |
การฝึกลมปราณควรฝึกในที่โล่งแจ้งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรฝึกในที่อับชื้น มีกลิ่น หรือเสียงดัง ในการฝึกลมปราณแต่ละครั้งให้หายใจซ้ำกัน 5-7 ครั้งแล้วตามด้วยการหายใจปกติหรือนอนท่าศพ แล้วจึงฝึกท่าอื่นต่อไป
การฝึกหายใจสามารถทำได้ทั้งท่ายืน ท่านั่ง และท่านอน ท่านั่งสามารถทำได้หลายแบบคือ นั่งขัดสมาธิชั้นเดียว(ขาข้างหนึ่งอยู่บนอีกข้างหนึ่ง) นั่งสมาธิสองชั้น(ท่าดอกบัว) นั่งบนส้นเท้าหรือนั่งคุกเข่า นั่งบนส้นเท้า เท้าแยกกันและก้นอยู่ระหว่างเท้า การวางมือให้ทำเหมือนพระพุทธรูปเอามือซ้ายอยู่ล่างมือขวาอยู่บน
การฝึกการหายใจ เริ่มหายใจให้ท้องป่องออกซึ่งเป็นการหายใจโดยใช้กำบังลม หลังจากนั้นให้สูดลมเข้าอีกซึ่งจะทำให้ซี่โครงทรวงอกขยาย และสูดให้เต็มปอดซึ่งจะรู้สึกว่าปอดขยายออกทุกทิศทุกทาง เมื่อหายใจออกก็ให้หายใจจากยอดอกออกก่อนตามด้วยกลางทรวงอกและสุดท้ายให้ท้องแฟบ
วิธีการหายใจในการฝึกโยคะ
วิธีการหายใจที่ใช้ในการฝึกโยคะสามารถทำได้ 3วิธีคือ
การเลือกวิธีหายใจขึ้นกับท่านผู้ฝึกว่าจะใช้วิธีไหน