jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์


สมอง

ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่านโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer's disease หรือ AD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี

อัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
อายุ อุบัติการณ์ (ผู้ป่วยใหม่) ต่อพันคน–ปี
65–69  3
70–74  6
75–79  9
80–84 23
85–89 40
90–   69

ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการอาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะต่อมาคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัย โดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมองเพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่าย และก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับรู้ และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด

แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

 

อาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ก็คือ ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา  หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว อาการโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุ

อาการของโรค

ระยะของโรค

ปัจจัยเสี่ยง

การดำเนินโรคอัลไซเมอร์

อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีแต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับ

การแบ่งระยะของโรค

การวินิจฉัย

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

สรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

  1. เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอนการวินิจฉัยจะอาศัยหลัก 3ประการ
  1. ไม่ควรกลัวโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากขณะนี้มีการวิจัยเรื่องนี้มากมายทั่วโลก เชื่อว่าอีกไม่นานนัก อาจมียาที่รักษาหรือป้องกันได้
  2. ในทางการแพทย์ ยังไม่แนะนำให้ทานยาใดๆเพื่อป้องกัน เพราะมักไม่ได้ผล และยาหรือสมุนไพรหรืออาหารเสริมเหล่านี้ส่วนมากมีราคาแพง และมักโฆษณาเกินความจริง

 

หากท่านสงสัยว่าอาจเป็นอัลไซเมอร์ ควรมาพบประสาทแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด และวินิจฉัยแยกโรค เนื่องจากมีโรคหลายอย่างที่มีอาการความจำเสื่อม ซึ่งรักษาให้หายได้ เช่น โรคไทรอยด์ , ซิฟิลิสขึ้นสมอง หรือโรคขาดวิตามิน B12 เป็นต้น ถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็อย่าตกใจ เพราะแพทย์ช่วยท่านได้.

http://www.alz.org/alzheimers_disease_what_is_alzheimers.asp

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์