การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
ใช้การวินิจฉัยตามอาการ ส่วนการตรวจหาเชื้อสาเหตุนั้น โดยการเพาะแยกเชื้อไวรัสจากอุจจาระ หรือ throat swab หรือ nasal washing หรือ nasal aspiration ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ควบคู่กับการตรวจทางน้ำเหลือง (serology) ในตัวอย่างเลือด acute และ convalescent serum เพื่อดู antibody ต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ
การรักษาโรคมือเท้าปาก
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ
เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ดังนี้
- ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูงห้ามให้ aspirin
- ดื่มน้ำให้พอ ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง
- ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีม
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น ๑ แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได) วันละหลายๆ ครั้ง
- งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด
โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อนโรคมือเท้าปาก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
- ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ
- มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
- อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง
ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
- อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร
- ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ
- ล้างมือก่อนและหลังป้อนนมให้เด็ก
- ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
- ระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
- หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
- ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
- เด็กที่ป่วยให้หยุดเรียน ให้อยู่แต่บ้าน
- ดูแลบ้าน โรงเรียน ให้สะอาดอยู่ตลอเวลา
โรคมือเท้าปากมีผลต่อคนตั้งครรภ์หรือไม่
โดยหลักแล้วคนตั้งครรภ์ไม่ควรจะใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคมือเท้าปาก เท่าที่มีหลักฐานคนตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่มีปัญหาต่อการตั้งครรภ์ เช่น แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด สำหรับทารกที่เกิดจากคนท้องที่ติดเชื้อมือเท้าปากมักจะมีอาการน้อยและอาการไม่รุนแรง
การแยกผู้ป่วย
ระวังสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแม่และเด็กเกิดอาการเจ็บป่วยที่ บ่งชี้ว่าจะเป็นการติดเชื้อ enterovirus จะต้องระวังเรื่องสิ่งขับถ่ายอย่างเข้มงวด เพราะอาจทำให้ทารกติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงได้
ห้ามญาติหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ enterovirus เข้ามาในหอผู้ป่วยหรือหอเด็กแรกเกิด หรือห้ามเข้าใกล้ทารกหรือหญิงท้องแก่ใกล้คลอด
การทำลายเชื้อโรคมือเท้าปาก
ต้องทำลายเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วปลอดภัย ล้างทำความสะอาด หรือทำลายสิ่งของปนเปื้อน หลังสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนหรือสิ่งขับถ่าย
ควรพบแพทย์เมื่อไร
- ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
- มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
- เด็กระสับกระส่าย
- มีอาการชัก
- แผลไม่หาย ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนองหรือพุพองจากการเกา ให้แพทย์พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษา
- มีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
- อาการไม่ดีขึ้นภายใน ๑ สัปดาห์
ติดตามข่าวเกี่ยวกับไข้มือเท้าปาก