ไข้เลือดออกแดงกิวที่ช็อก Denque Shock Syndrome DSS
เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เลือดออกเดงกีที่ช็อก (Dengue shock syndrome - DSS)
ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี (มีอาการทางคลินิกร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการ ดังกล่าวข้างต้น) ที่มีอาการช็อก คือมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการดังต่อไปนี้
- ตัวเย็น เหงื่อออก มือเท้าเย็น ตัวเป็นลาย
- กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
- ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม.
- การตรวจระบบไหลเวียนของเส้นโลหิตฝอยที่บริเวณปลายมือปลายเท้าไม่ดี (การตรวจโดย ใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าแล้วปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี บริเวณปลายนิ้วมือ/ นิ้วเท้าที่ถูกกดจะยังคงซีดขาวอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที (capillary refill > 2 วินาที)
- ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตแคบ (pulse pressure) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 มม.ปรอท เช่น 100/80, 90/70, 110/90, 100/90 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตต่ำ หรือมีภาวะช็อกรุนแรง จนวัดความดันหรือจับชีพจรไม่ได้ ตัวเย็นมาก/ปากเขียว/ ตัวเขียว
ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน
- การให้น้ำเกลือต้องให้ปริมาณเพียงพอที่จะให้ความดันกลับสู่ปกติ และให้ให้เร็ว
- หากได้ปริมาณน้ำเกลือที่เพียงพอแล้วความดันโลหิตยังไม่ขึ้น ให้สารน้ำที่เรียกว่า colloidal เสริมเพื่อเป็นการดึงน้ำพลาสม่าที่รั่วกลับเข้าเส้นเลือด
- ผู้ป่วยบางรายที่น้ำเกลืออย่างเพียงพอแล้ว ความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ปกติ แต่ความดันของเลือดยังไม่ขึ้น ให้สงสัยว่าอาจจะมีเลือดออกภายในร่างกาย
- เมื่อสัญญาณชีพคงที่แล้วต้องรีบลดปริมาณน้ำเกลือ
- จะหยุดน้ำเกลือเมื่อสัญญาณชีพคงที่ ความเข้มของเลือดคงที่ประมาณ 40% ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ ปัสสาวะออกดี
- โดยทั่วไปการให้น้ำเกลือมักจะไม่เกิน 48 ชั่วโมงหลังช็อค
การดูแลอื่นๆ
- ภาวะกรดและเกลือแร่ ในบางรายอาจจะมีความผิดปกติของเกลือแร่และความเป็นกรดจึงต้องพิจารณาในผู้ป่วยบางราย
- การให้ออกซิเจนควรจะให้ทุกรายที่มีอาการช็อค
- การให้เลือด การที่จะรู้ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายเป็นเรื่องที่ยาก แต่มีข้อสังเกตคือ เมื่อเราให้สารน้าอย่างเพียงพอ ความเข้มของเลือดก็ลดลง แต่ภาวะช็อกยังไม่ดีขึ้น ควรจะให้เลือดจนกระทั่งความดันกลับสู่ปกติ
ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
- ตับวาย
- ไตวาย
- สมองทำงานผิดปกติ
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย