การรับรู้การรั่วของพลาสมาอย่างรวดเร็ว (Early detection of plasma leakage)
ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะติดเชื้อเดงกี ในวันที่ 3 ของโรคเป็นต้นไป ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะมีการรั่วของพลาสมา การเฝ้าระวังอาการนำของช็อกอาจจะช่วยบอกระยะวิกฤตของโรคได้ แต่จากประสบการณ์ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาโรงพยาบาลเมื่ออาการเป็นมากแล้ว การที่รู้ว่าเริ่มมีการรั่วของพลาสม่าจะรู้จัก
- การวัดสัญญาณชีพ Vital signs เป็นระยะๆ จะช่วยบอกถึงระยะวิกฤตของโรคได้ โดยพบว่าชีพขจรจะเร็วขึ้นช่วงต่างระหว่างความดัน systole และ diastole จะน้อยกว่า 20 มิลิเมตรปรอท
- มีอาการแน่ท้องเนื่องจากตับโต แน่หน้าอกเนื่องจากอาจจะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
- ผู้ป่วยที่มีไข้ ไข้ต่ำลง มีชีพจรเร็วขึ้นกว่าระดับปกติ ความเข้มของเลือด Hct เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวชี้วัดว่าผู้ป่วยเริ่ม มีการรั่วของพลาสมา ดังนั้นการเจาะ Hct เป็นระยะๆ เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะวิกฤตจะเป็น การช่วยได้มาก
เมื่อสามารถรู้ว่าเกิดการรั่วของพลาสมาได้เร็วแล้ว จึงปฏิบัติตามแนวทางการรักษา คือในขั้นต้น พยายามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำเกลือทางปาก ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหาร/ดื่มน้ำเกลือ ได้ตามปริมาณที่ต้องการก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ต้องมีการประเมินและ ติดตามผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่มีการรั่วของพลาสมา ประมาณ 24-48 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ รับระทานอาหาร/ ดื่มน้ำได้ จึงเริ่มให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำตามแนวทางการรักษาฯ และมีการติดตามผู้ป่วยจะติดตามตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด คือ
- อาการทางคลินิก ได้แก่
- การอยากอาหาร คลื่นไส้อาเจียน หากมีการรั่วของพลาสม่าจะมีอาการคลื่นไส้ไม่อยากอาหาร
- อาการปวดท้องชายโครงด้านขวา แน่นหน้าอกแสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า
- สภาพขาดน้ำหรือไม่
- Vital signs: BP, Pulse, Respira-tion rate & Tempereature ดังกล่าวข้างต้น
- Hct ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
- Urine output ปัสสาวะออกน้อยลง
การ Detect ภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว
(Early detection of shock)
อาการนำของช็อกจะช่วยในการวินิจฉัยภาวะช็อกได้อย่างรวดเร็ว อาการดังกล่าวคือมีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง
- เลือดออกผิดปกติ
- อาเจียนมาก/ ปวดท้องมาก
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- ซึม ไม่ดื่มน้ำ ไม่รับประทานอาหาร
- มีอาการช็อกหรือ impending shock คือ
- มือเท้าเย็น
- กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
- ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่าย
- การตรวจระบบไหลเวียนของเส้นโลหิตฝอยที่บริเวณปลายมือปลายเท้าไม่ดี [(การตรวจ
โดยใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้า แล้วปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี
บริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าที่ถูกกดจะยังคงซีดขาวอยู่เป็นเวลา นานกว่า 2 วินาที (capillary
refill > 2 วินาที)]
- pulse pressure ≤ 20 mmHg. โดยไม่มี hypotension เช่น 100/80, 90/70 มม.ปรอท
- ความดันต่ำ (ตามเกณฑ์อายุ)
- ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน 4-6 ชม.
- ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่องเพ้อ เอะอะโวยวาย
การวัดสัญญาณชีพ Vital signs จะยืนยันภาวะช็อกของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ภาวะช็อกในผู้ป่วย
ไข้เลือดออกส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีพลาสมารั่วออกไปนอกเส้นเลือดมากซึ่งจะพบว่ามี pulse pressure
แคบ ≤ 20 มม.ปรอท เช่น 90/70, 100/80 หรือ 110/90 มม.ปรอท ถ้าผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการที่มี
เลือดออกมาก มักตรวจพบว่ามีภาวะ Hypotension เช่น 70/40, 60/30 มม.ปรอท
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง วิธีการดูแลผู้ป่วย การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก