ไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
อาการไข้เลือดออกชนิดนี้จะมีลักษณะเหมือนไข้แดงกิ่ว(ไข้เลือดออกชนิดเบา) ตรงที่มีไข้เฉียบพลัน ปวดศรีษะ ปวดตามตัว หน้าแดง คลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจจะมีอาการเจ็บคอ คอแดง แต่อาการที่แตกต่างคือ แน่นท้อง เจ็บชายโครงข้างขวา ปวดท้อง เนื่องจากตับโต มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง แม้ว่าตับจะโตแต่มักจะไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
- ไข้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไข้สูงลอย 2-7 วัน
- มีอาการไข้เลือดออกอย่างน้อยทำ toumiquet test ให้ผลบวก ร่วมกับมีอาการเลือดออกอย่างอื่น เช่นจุดเลือดตามผิวหนัง เลือดกำเดา ถ่ายเป็นเลือด
- ตับโต มักจะกดเจ็บ
- การไหลเวียนของโลหิตผิดปกติหรือเกิดช็อค
เกณฑ์การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการณ์
- เลือดข้นขึ้นดูจากความเข้มข้นของเลือด Hct เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับ Hct เดิมเช่นจาก 35% เป็น 42% หรือมีหลักฐานว่ามีการรั่วของพลาสม่า เช่นมีน้ำในช่องปอด น้ำในท้อง ตับโต
- เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100000 เซลล์ต่อลบ.ซม
- ผู้ป่วยที่อาการไม่มาก ไข้จะลงและหายเป็นปกติ
- ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงมาก ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงหลังจากมีไข้ 2-3 วันไข้จะลงวันที่3-7นับจากเริ่มมีไข้ จะมีลักษณะของช็อคคือ ผิวเย็น ผิวเป็นจ้ำๆ อาจจะมีเขียวปลายมือปลายเท้า ชีพขจรเร็วและเบา บ่นแน่ท้อง บางรายมีอาการกระสับกระส่าย
- หากรักษาไม่ทันผู้ป่วยจะมีอาการ ของช็อคชัดเจนขึ้นคือ ผิวเย็น ผิวเป็นจ้ำๆ อาจจะมีเขียวปลายมือปลายเท้า ชีพขจรเร็วและเบา วัดความดันโลหิตพบว่าความดัน systolic และ diastolic ห่างกันน้อยกว่า 20 มม.ปรอท(ปกติเท่ากับ 30 มม.ปรอท) หากรักษาได้ทันผู้ป่วยจะฟื้นอย่างรวดเร็ว
- หากรักษาไม่ทันผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะช็อคเต็มรูปแบบ ปัสสาวะไม่ออก ซึมลงหรือกระสับกระส่าย เลือดมีความเป็นกรดสูง
- จะมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ในสมอง
กลไกการเกิดโรคไข้เลือดออก
- เกิดจากการที่มีการรั่วของพลาสม่าเข้าในช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องท้อง
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- เม็ดเลือดขาวมักจะปกติหรือสูงในช่วงแรก แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ไข้จะลง เม็ดเลือดขาวจะลดลง และมี
atypical lymphocytes เพิ่มมากขึ้น
- เกล็ดเลือดมักจะต่ำกว่า 100000 ความเข้มของเลือดเพิ่มขึ้น
ข้อสำคัญที่บอกว่าไข้เลือดออกเป็นหนัก
หากไข้ลง ผู้ป่วยมีอาการแน่นท้อง ผิวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะลดลง หายใจหอบ กระสับกระส่าย ต้องแจ้งแพทย์
ข้อแตกต่างของไข้เลือดออกในระยะนี้และระยะช็อคที่แตกต่างจากไข้แดงกิ่ว คือระยะนี้จะมีการรั่วของพลาสม่าออกจากหลอดเลือด เราจะทราบได้โดยพบว่า
- ความเข้นข้นของเลือดเพิ่มขึ้น 20 %
- หรือมีน้ำในช่องท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด
การวินิจฉัยระยะนี้ให้ได้ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจะทำให้ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ดังนั้นระยะนี้จะต้องติดตามสัญญาณชีพ การเจาะเลือดตรวจความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ การเจาะตรวจหาปริมาณเกล็ดเลือด
- ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับ 1-2 อาจจะให้น้ำเกลือ 1-2 วัน
- ส่วนผู้ที่มีระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50000 หรือความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือมีเลือดออก ควรที่จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
- การดูและระยะไข้สูง
- แม้ว่าระยะนี้จะมีน้ำพลาสม่าไหลออกจากหลอดเลือด แต่การให้สารน้ำต้องระวังอย่าให้เกิน ควรจะให้ทุก 2-4 ชั่วโมงและประเมิน
- ระยะเวลาในการให้น้ำเกลือประมาณ 24-48 ชั่วโมงเพราะระยะนี้เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสม่า
- ในการติดตามการรักษาให้ติดตามความเข้มข้นของเลือด สัญญาณชีพ ปริมาณปัสสาวะ
- การให้น้ำเกลือจะให้แค่เพียงพอต่อการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะเท่านั้น
- ผู้ป่วยที่ขาดน้ำไม่มากอาจจะให้น้ำเกลือแร่ชนิดผงละลายน้ำดื่ม
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย