jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การดูแลผู้ที่ติดเชื้อ HIV

เมื่อสมัยก่อนใครที่มีญาติเป็นโรคเอดส์จะต้องปิดข้อมูลมิให้ใครรู้เพราะสังคมรังเกียจ ญาติใกล้ชิดก็รังเกียจกลัวติดโรคทำให้ผู้ป่วยหมดที่พึ่ง เป็นโรคก็น่าเห็นใจแล้วแต่สังคมยังรังเกียจทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจ ปัจจุบันสังคมยอมรับมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะมีชีวิตประกอบกับความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มีเพิ่ม การค้นพบยาต้านไวรัสเอดส์ใหม่ๆทำให้ผู้ป่วยมีอายุนานขึ้น หากท่านมีญาติหรือคนรู้จักติดเชื้อ HIV ท่านต้องอ่านเพื่อที่จะไปดูแลผู้ป่วย ให้มีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนนานขึ้นการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เป็นความเครียดทั้งผู้ที่เป็นและผู้ดูแล ท่านต้องเข้าใจผู้ป่วย และท่านต้องติดตามความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาและการดูแล

สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์

ท่านจะต้องรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์รายละเอียดท่านสามารถคลิกที่นี่

การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์

หน้ากากอนามัย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์หรือติดเชื้อ HIV ต้องการพึ่งตัวเอง ท่านต้องให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ป่วยสามารถกำหนดตารางการทำงาน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ การผักผ่อน หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งคัดก็จะสามารถมีสุขภาพที่ดี ต้องให้ผู้ป่วยหยุดสุรา บุหรี่ และยาเสพติด

แผลกดทับ

ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับที่จะเกิดแผลกดทับโดยมากมักจะเกิดบริเวณก้น ส้นเท้า สะบัก หรือบริเวณที่กดทับนานเกินสองชั่วโมง วิธีป้องกันอาจจะใช้เตียงลมหรือเตียงน้ำ เตียงลมจะมีมอเตอร์เป่าลมเข้าไปและจะเลื่อนตำแหน่งที่กดทับ อาจจะใช้แผ่น gel หรือ form รองบริเวณที่กดทับ ผ้าปูเตียงต้องแห้งไม่มีรอยย่น ต้องมั่นนวดบริเวณที่กดทับเช่น ก้น สะโพก ข้อศอก ส้นเท้า หากพบว่าผิวหนังเริ่มมีรอยแดงหรือมีแผลต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

การออกกำลังกาย

แม้ว่าผู้ป่วยที่นอนบนเตียงก็สามารถออกกำลังกายได้ โดยการที่ผู้ดูแลขยับแขน ขา ข้อทุกข้อให้ขยับให้มากที่สุดเพื่อป้องกันข้อติด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อป้องกันแผลกดทับ

การหายใจ

หากผู้ป่วยหายใจลำบากก็ให้ผู้ป่วยนั่งเอาหมอนพิงหลัง(เตียงแบบของโรงพยาบาล) และหากมีเสมหะซึ่งไม่สามารถไอออกมาก็ช่วยโดยการเคาะปอดและดูดเสมหะ

การป้องกันการติดเชื้อ

เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลจำเป็นต้องป้องกันผู้ป่วยมิให้รับเชื้อโรคซึ่งมีวิธีการดังนี้

การป้องกันตัวเอง

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจจะนำเชื้อโรคมาติดผู้ดูแลได้ ท่านจะต้องรู้จักป้องกันตัวเอง ตัวอย่างเช่นหากผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีอาการท้องร่วงผู้ดูแลต้องสวมถุงมือขณะทำความสะอาดและให้ล้างมือเมื่อทำความสะอาดเสร็จ ถุงมือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากมีอาการไอเกินกว่า 1 สัปดาห์ต้องไปพบแพทย์เพราะอาจจะเป็นวัณโรค หากผู้ป่วยเป็นวัณโรคสมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจว่าเป็นวัณโรคหรือไม่แม้ว่าจะไม่มีอาการไอ ผู้ป่วยที่มีตัวเหลืองตาเหลืองต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นตับอักเสบหรือไม่ หากเป็นตับอักเสบผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ผู้ทีอยู่ในบ้านเดียวกันควรจะได้รับวัคซีน

ถุงมือ

เนื่องจากเชื้อ HIV มีอยู่ในเลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะและอุจาระของผู้ป่วยผู้ดูแลต้องระวังการสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะผู้ที่มีแผล การดูแลสิ่งเหล่านี้ต้องสวมถุงมือทุกครั้ง ถุงมือที่ใช้มีสองชนิดคือ ถุงมือที่ใช้ทางการแพทย์ใช้ในกรณีต้องสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้ออยู่ ใช้แล้วทิ้งเลย อีกชนิดหนึ่งคือถุงมือที่ใช้ตามบ้านไว้ใส่สำหรับทำความสะอาดบ้าน

การจัดการของเสีย

ของเสียของผู้ติดเชื้อ HIV ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะ อุจาระ อาเจียนควรจะเททิ้งในโถส้วมและกดล้างออกให้หมด แต่ต้องระวังอย่าให้มีการกระเด็นเข้าตาหรือปาก สำหรับผ้าอ้อม ผ้าอนามัย ผ้าทำแผลควรจะใส่ถุงพลาสติกและปิดให้สนิทแล้วทิ้งในช่องขยะมีพิษอย่าลืมสวมถุงมือ

เมื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย

เมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะสุดท้ายก็คงหนีไม่พ่นการเสียชีวิต ผู้ดูแลสามารถสังเกตสิ่งที่จะเกิดต่อไปนี้