วิธีวัดความดันโลหิต
ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร วิธีการที่จะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง คือต้องวัดความดันโลหิต
การวัดความดันสูงเพียงครั้งเดียว มิได้หมายความว่าคุณเป็นความดัน แต่เป็นการเตือนว่าคุณต้องเฝ้าระวังว่าความดันโลหิตสูงคุกคามคุณเข้าแล้ว แพทย์จะวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า
sphygmomanometer ร่วมกับหูฟัง
ค่าที่วัดได้มีสองค่าคือ
systolic/diastolic เช่น 140/80 มม.ปรอท
โดยตัวแรกคือค่า systolic
เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
ค่าหลังคือ diastolic
เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
วิธีการวัดวิธีการวัดมีดังนี้ข้อควรปฏิบัติก่อนการวัดความดันโลหิต
-
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวัดความดันโลหิต
ไม่ดื่มชา กาแฟ ไม่สูบบุหรี่ก่อนทำการวัด 30นาทีพร้อมทั้งถ่ายปัสสาวะ อุจาระให้เรียบร้อย ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ในห้องที่สงบเป็นเวลา 5 นาทีหลังพิงพนักเพื่อมิให้เมื่อยหลัง เท้าสองข้างวางราบกับพื้นห้ามนั่งไกว่ห้างไม่พูดคุบขณะวัด แขนว้ายหรือขวาวางบนโต๊ะขณะวัด ไม่กำมือ
-
การจัดสิ่งแวดล้อมก่อนวัดความดันโลหิต
สถานที่ใช้ตรวจต้องเงียบและเป็นส่วนตัว
และต้องไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ความดันโลหิตผันแปร
- เครื่องวัดต้องอยู่ในแนวสายตาหากสูงหรือต่ำไป จะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน
- ความสูงของโต๊ะ
เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้และวางมือบนโต๊ะ
แขนควรอยู่ในระดับหัวใจ
ควรปรับความสูงของโต๊ะเพื่อให้ได้ตำแหน่งดังกล่าว
- ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้
แขนที่จะวัดอยู่ในระดับหัวใจ
-
การเตรียมการวัดและการพักก่อนวัดความดันโลหิต
เพื่อจัดการกับสิ่งที่จะทำให้การวัดความดันโลหิตผิดพลาดควรจะแนะนำผู้ป่วยดังนี้
- อุณหภูมิห้องต้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
- ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาวขณะวัดความดันโลหิต
- ขณะวัดไม่ควรมีความเครียด
อาการเจ็บปวด
ไม่ปวดปัสสาวะ
- ไม่ควรวัดความดันหลังอาหาร
- ต้องงดบุหรี่และกาแฟก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
- ให้นั่งพัก 5 นาทีห้ามนั่งไข่วห้าง หลังพิงพนัก เท้าอยู่บนพื้น
-
การเลือกขนาดของผ้าพันรัดแขน
ขนาดของผ้าพันรอบแขนจะมีผลต่อความดันขนาดที่เหมาะสมคือความกว้างต้องประมาณ40%
ของเส้นรอบวงแขน
ความยาวต้องอย่างน้อย 80%
หากขนาดผ้าเล็กไปจะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงเกินไป
ปกติจะให้วัดแขนขวาเสมอ
- ขนาดมาตราฐานสำหรับผู้ใหญ่กว้าง 12-13 ซม ยาว 35 ซม
- รอบแขน 22–26 cm,ใช้ผ้าขนาด "small adult" ขนาด—12 - 22 cm.
- รอบแขน 27–34 cm, ใช้ผ้าขนาด"adult" ขนาด—16 - 30 cm.
- รอบแขน 35–44 cm, ใช้ผ้าขนาด"large adult" ขนาด—16 - 36 cm.
- รอบแขน 45–52 cm,ใช้ผ้าขนาด"adult thigh" ขนาด—16 - 42 cm.
-
การพันผ้ารัดแขน
- ควรจะวัดแขนข้างที่ใช้งานน้อย
- ควรจะแนะนำให้ผู้ป่วยใส่เสื้อแขนสั่นเมื่อมาวัดความดัน
- หากจะใส่เสื้อแขนยาวให้เป็นเสื้อคลุมที่สามารถถอดออกได้ง่าย
- ไม่ควรใช้วิธีรูดแขนเสื้อขึ้นไปเพราะจะทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ไม่ถูกต้อง
- ให้คลำหลอดเลือดแดงที่แขนแล้วพันผ้าโดยให้ศูนย์กลางของผ้ากดทับเส้นเลือด
- ขณะพันต้องพันอย่างสม่ำเสมอไม่พันแน่นหรือหลวมเกินไป
ปลายผ้าจะอยู่เหนือข้อศอก 2-3
ซม
- ระหว่างการใช้หูฟังระวังสัมผัสกับผ้าจะทำให้เกิดเสียงหลอก
- ผ้าที่พันจะต้องอยู่ในระดับหัวใจเสมอ
-
การเพิ่มความดันเข้าในผ้า
ก่อนที่จะวัดความดันโลหิตเรายังไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
- เราจะใช้วิธีคลำหลอดเลือดแดงที่แขน
- พันผ้าให้ตรงกลางของผ้าซึ่งจะมีเครื่องหมายวงกลมเล็กๆวางตรงกับแนวทางของหลอดเลือดแดง
- แล้วบีบจนกระทั่งความดันไปอยู่ที่60
มิลิเมตรปรอท
แล้วบีบลมเข้าไปทีละ 10
มิลิเมตรปรอทจนกระทั่งคลำชีพขจรไม่ได้
- แล้วจึงปล่อยลมออกด้วยอัตรา
2 มิลิเมตรปรอท
- จดค่าความดันที่เริ่มคลำได้ชีพขจร
- หลังจากนั้นจึงใช้หูฟังวางบนเส้นเลือดและบีบลมจนความดันสูงกว่าค่าที่จดไว้
30
มิลิเมตรปรอท แล้วจึงปล่อยลมด้วยอัตราเร็ว
2 มิลิเมตรปรอท/วินาที
- เสียงแรกที่ได้ยินคือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว(systolic)
อีกค่าหนึ่งให้จดค่าความดันที่เสียงการเต้นหายไปเรียก
(diastolic)
- ให้วัดความดันโลหิตค่า
systolic/diastolic
- อีก 2
นาทีให้วัดความดันโลหิตซ้ำ
ถ้าครั้งแรกและครั้งที่สองห่างกันเกิน
5 มม.ปรอทให้วัดครั้งที่ สาม
- ระหว่างการวัดความดันโลหิตไม่ควรจะมีการพูดคุย
ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิต
ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิตมีผลต่อค่าที่วัดได้ดังนี้
- เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน diastolic จะสูงกว่าท่านอน 5 มม.ปรอท
- เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน systolic จะสูงกว่าท่านอน 8 มม.ปรอท
- ความดันท่านั่งโดยที่ไม่ได้พิงพนักความดัน diastolic จะสูงขึ้น 6 มม.ปรอท
- การวัดความดันโลหิตเมื่อนั่งไขว้เท้า ความดัน systolic จะสูงขึ้น6-8 มม.ปรอท
- แขนต่ำกว่าหัวใจ(ระดับกลางหน้าอก) เช่นการห้อยแขน ความดันที่วัดได้จะสูงกว่าปกติ
- แขนสุงกว่าหัวใจ ค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะต่ำกว่าปกติ
ควรจะวัดความดันกี่ครั้งดี
การวัดความดันหลายครั้งจะมีความแม่นยำมากกว่าการวัดความดันเพียงครั้งเดียว ค่าที่วัดได้ครั้งแรกจะสูงสุด ให้วัดซ้ำ อีกหนึ่งนาทีต่อมา หากทั้งสองค่าห่างกันมากกว่า 5 มม.ปรอทก็ให้วัดครั้งที่ 3 แล้วหาค่าเฉลี่ย